วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

                                  ความเป็นมาของรางวัลโนเบล

อัลเฟร็ด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ชุดดินระเบิด
ที่เรียกว่า ไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerine) หรือระเบิดไดนาไมต์ รู้สึกเสียใจ
ที่ระเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์ เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1896
เขาระบุในพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติให้นำไปตั้งมูลนิธิโนเบล เพื่อเป็นการสนับสนุน และมอบรางวัลให้แก่บุคคลที่มีผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่น หรือสร้างคุณ
ประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ โนเบลแสดงเจตนารมณ์ไว้ในพินัยกรรมของเขา
อย่างชัดแจ้งว่า "...It is my express wish that in awarding the prizes no consideration be given to the nationality of the candidates, but that the most worthy shall receive the prize, whether he be Scandinavian or not. ..." ซึ่งหมายถึง ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับรางวัลนี้ต้องเป็น "บุคคลผู้อำนวยคุณประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ" โดยไม่จำกัดว่าบุคคลผู้นั้น
จะมีเชื้อชาติไหน พูดภาษาใด
พิธีมอบรางวัลโนเบลจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 10 ธันวาคม โดยจัดขึ้น
ครั้งแรกหลังจากโนเบลเสียชีวิตไปได้ 5 ปี (ค.ศ. 1901) มี 5 สาขา คือ คือ ฟิสิกส์
(physics) เคมี (chemistry) การแพทย์และสรีรวิทยา (physiology or
medicine) วรรณกรรม (literature) สันติภาพ (peace) และในปี ค.ศ. 1969
จึงเพิ่มรางวัลอีก 1 สาขา คือสาขาเศรษฐศาสตร์ (economic)

ผู้พระราชทานรางวัลโนเบลคือ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรสวีเดน
แม้ว่าบางปีรางวัลบางสาขาอาจไม่มีการตัดสิน แต่มีข้อกำหนดว่าระยะเวลา
ของการเว้นการมอบรางวัลต้องไม่เกิน 5 ปี รางวัลที่มอบให้ประกอบด้วย เหรียญทอง
ที่ด้านหน้าสลักเป็นรูปหน้าของอัลเฟร็ด โนเบล พร้อมใบประกาศเกียรติคุณและเงินสด
รางวัลโนเบลถือ เป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่และทรงเกียรติของชาวโลก ถือเป็นสิ่งที่เชิดชูเกียรติ บ่งบอกถึงความเก่งกาจ ยอดเยี่ยม และเป็นผู้อุทิศตนเพื่อความเจริญก้าวหน้า ความสงบและสันติของสังคมโลก
ภาพ Alfred Nobel จากหนังสือ NOBEL PRIZE 100 ผู้พิชิตรางวัลโนเบล ที่มา : หนังสือ NOBEL PRIZE 100 ผู้พิชิตรางวัลโนเบล ผู้เขียน ศ.ดร. สุทัศน์ ยกส้าน, รศ. ดร. ญาดา ประภาพันธ์, พ.ท.ผศ.ดร. พีรพล สงนุ้ย, พ.ท.ผศ.ดร. ศรศักร ชูสวัสดิ์, ร.อ. ชุมพล รักงาม, พ.อ.หญิง ชมนาค เทียมพิภพ, ลอองทิพย์ อัมรินทร์รัตน์, วรุณยุพา ฮอล ลิงกา
การประกาศผลรางวัลประจำปี 2012
       (ตามเวลาประเทศไทย)
       ***********************

จอห์น กอร์ดอน (ภาพจากเว็บไซต์ Gordon Institute) และ ชินยะ ยามานากะ (รอยเตอร์)
       1. สาขาสรีศาสตร์ หรือการแพทย์
       วันที่ 8 ต.ค.2012 เวลา 16.30 น.
      
       ผู้ได้รับรางวัล : ผู้ได้รับรางวัล : จอห์น กัวร์ดอน (John Gurdon) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อังกฤษ และ ชินยะ ยามานากะ (Shinya Yamanaka) จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ญี่ปุ่น “สำหรับการค้นพบว่า สามารถเขียนชุดคำสั่งใหม่ให้เซลล์โตเต็มวัยกลายเป็นเซลล์ที่สามารถเปลี่ยนหน้าที่ได้หลากหลาย”
      
       ประกาศรางวัลโดย : โกรังค์ ฮานสัน (Göran K. Hansson) เลขาธิการคณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาสรีศาสตร์ หรือการแพทย์
      
       มอบรางวัลโดย : สมัชชาโนเบล ที่สถาบันแคโรลินสกา (The Nobel Assembly at the Karolinska Institute) สตอกโฮล์ม สวีเดน
      
       อ่านเพิ่มเติม
       -
2 ผู้เปลี่ยน “เซลล์แก่” เป็น “เซลล์เด็ก” คว้าโนเบลแพทย์ 2012
เดวิด เจ.ไวน์แลนด์ (NIST) และ เซิร์จ ฮารอช (ภาพจากวิทยาลัยฝรั่งเศส)
       2.สาขาฟิสิกส์
       วันที่ 9 ต.ค.2012 เวลา 16.45 น.
             ผู้ได้รับรางวัล : เซิร์จ ฮารอช (Serge Haroche) จากวิทยาลัยฝรั่งเศส (Collège de France) ปารีส ฝรั่งเศส และ เดวิด เจ.ไวน์แลนด์ (David J. Wineland) จากสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีสหรัฐ (National Institute of Standards and Technology) หรือนิสต์ (NIST) ในโบลเดอร์ สหรัฐฯ “สำหรับการทดลองที่ช่วยในการวัดและจัดการระบบควอนตัมเชิงเดี่ยวได้”
      
       ประกาศรางวัลโดย : สตัฟฟาน นอร์มาร์ก (Staffan Normark) เลขาธิการราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน
      
       มอบรางวัลโดย : ราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (The Royal Swedish Academy of Sciences) สตอกโฮล์ม สวีเดน
      
       อ่านเพิ่มเติม
       -
ควอนตัมแสงปูทาง “ซูเปอร์คอมพ์-นาฬิกาอะตอม” คว้าโนเบลฟิสิกส์
       - - ใครได้ประโยชน์จาก “ควอนตัมแสง” ผลงาน“โนเบลฟิสิกส์”?
โรเบิร์ต เจ.เลฟโกวิทซ์ และ ไบรอัน เค.โคบิลกา (เว็บไซต์โนเบล)
       3.สาขาเคมี
       วันที่ 10 ต.ค.2012 เวลา 16.45 น.      
       ผู้ได้รับรางวัล : โรเบิร์ต เจ.เลฟโกวิทซ์ (Robert J. Lefkowitz) จากสถาบันการแพทย์โฮวาร์ดฮิวจ์ส (Howard Hughes Medical Institute) และศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยดุค (Duke University Medical Center) สหรัฐฯ กับ ไบรอัน เค.โคบิลกา (Brian K. Kobilka) จากวิทยาลัยแพทย์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University School of Medicine) สหรัฐฯ "สำหรับการศึกษาตัวรับที่จับกับจี-โปรตีน (G-protein)" ซึ่งคณะกรรมการรางวัลโนเบลอธิบายงานวิจัยดังกล่าวมีประโยชน์ต่อการวิจัยด้านการแพทย์อย่างมาก และยังทำให้มนุษย์รับรู้สัมผัสต่างๆ อธิบายกลิ่น ภาพ เป็นต้น โดยคณะกรรมการยังแสดงให้เห็นด้วยว่าการทำงานของตัวรับดังกล่าวทำให้เรารื่นรมย์กับกลิ่นกาแฟด้วย
   
       ประกาศรางวัลโดย : สตัฟฟาน นอร์มาร์ก (Staffan Normark) เลขาธิการราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน
      
       มอบรางวัลโดย : ราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (The Royal Swedish Academy of Sciences) สตอกโฮล์ม สวีเดน
      
       อ่านเพิ่มเติม
       -
โนเบลเคมี 2012 อธิบายลึกถึงเซลล์ตอบสนองต่อสัมผัสอย่างไร
ม่อ เอี๋ยน (รอยเตอร์)
       4.สาขาวรรณกรรม
      
       ผู้ได้รับรางวัล : ม่อ เอี๋ยน (Mo Yan) นักเขียนจีน "ผู้มีการผสมผสานกลมกลืนกันอย่างลงตัว ระหว่างเรื่องราวพื้นบ้าน ความเป็นประวัติศาสตร์และความร่วมสมัย"
      
       ประกาศรางวัลโดย : ปีเตอร์ เอ็งลุนด์ (Peter Englund) เลขาธิการสถาบันวิชาการสวีเดน
      
       มอบรางวัลโดย : สถาบันวิชาการสวีเดน (The Swedish Academy)
      
       อ่านเพิ่มเติม
       -
“ม่อ เอี๋ยน” นักเขียนแดนมังกร ผงาดคว้ารางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม 2012
สหภาพยุโรปคว้ารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพไปครอง
       5. สาขาสันติภาพ
       วันที่ 12 ต.ค.2012 เวลา 16.00 น.
      
       ผู้ได้รับรางวัล : สหภาพยุโรป "สหภาพยุโรป และผู้บุกเบิกก่อนหน้าได้มีส่วนในการพัฒนาสันติภาพ และการปรองดอง ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนในยุโรปมานานกว่า 6 ทศวรรษแล้ว"
      
       ประกาศรางวัลโดย : ธอร์บียอร์น ยักลันด์ (Thorbjørn Jagland) ประธานคณะกรรมการโนเบลแห่งนอร์เวย์ Chairman of the Norwegian Nobel Committee
      
       มอบรางวัลโดย : สถาบันโนเบลแห่งนอร์เวย์ (The Norwegian Nobel Institute) ออสโล นอร์เวย์
      
       อ่านเพิ่มเติม
       -
"สหภาพยุโรป" คว้าโนเบลสันติภาพปี 2012
แอลวิน อี. รอธ (ซ้าย) และ ลอยด์ สโตเวลล์ เชพลีย์ (ขวา)
        6.สาขาเศรษฐศาสตร์
       วันที่ 15 ต.ค.54 เวลา 18.00 น.
       ผู้ได้รับรางวัล : แอลวิน อี. รอธ
(Alvin E. Roth) วัย 60 ปี ศาสตราจารย์แห่งวิทยาลัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ ผู้ได้รับรางวัล : ลอยด์ สโตเวลล์ เชพลีย์ (Lloyd S. Shapley) วัย 89 ปี ศาสตราจารย์กิตติคุณและผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตลอสแองเจลิส (ยูซีแอลเอ)
      
       ทั้งคู่ได้รับรางวัลจากการสร้าง “ทฤษฎีการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีเสถียรภาพ และการออกแบบลักษณะของตลาด” โดยการประยุกต์ทฤษฎีเกม และวิธีการทางคณิตศาสตร์ มาใช้ในการศึกษาและเปรียบเทียบวิธีการจับคู่ทางเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย ได้ก่อให้เกิดคุณูปการต่อแวดวงเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ จนเกิดการยอมรับและนำไปสู่การสร้างสรรค์ระบบกฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจแบบพิเศษ
      
       ประกาศรางวัลโดย : สตัฟฟาน นอร์มาร์ก (Staffan Normark) เลขาธิการราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน
      
       มอบรางวัลโดย : ราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (The Royal Swedish Academy of Sciences) สตอกโฮล์ม สวีเดน
      
       อ่านเพิ่มเติม
       - 2 กูรูมะกัน ด้านทฤษฎีเกม คว้าโนเบลเศรษฐศาสตร์ จากผลงานหาวิธีจับคู่อุปสงค์-อุปทาน
      
       *********************
       
รางวัลซีไรต์
            ซีไรต์ หรือชื่อเดิมในภาษาไทยคือ "รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่ง
อาเซียน(S.E.A.WRITE AWARD) ซึ่งย่อมาจากคำว่า The South East Writer Award เส้นทางซีไรต์ จุดเริ่มต้นของรางวัลซีไรต์ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 จัดโดยโรงแรมโอเรียลเต็ล การบินไทย และบริษัทในเครืออิตัลไทยโดยมีศาสตราจารย์พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงเป็น
ประธาน และได้รับความร่วมมือจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยและสมาคมภาษาและ หนังสือ
แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
 1. เพื่อให้เป็นที่รู้จักถึงความสามารถด้านสร้างสรรค์ของนักเขียนในกลุ่มประเทศ
อาเซียน 

 2. เพื่อให้ทราบถึงโภคทรัพย์ทางวรรณกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาวรรณศิลป์แห่ง
กลุ่ม ประเทศอาเซียน

3. เพื่อรับทราบ รับรอง ส่งเสริมและจรรโลงเกียรติ อัจฉริยะทางวรรณกรรมของนัก
เขียนผู้ สร้างสรรค์ 

4. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเขียนและประชาชนทั่วไป
ในกลุ่มประ เทศอาเซียน

         ประเทศที่เข้าร่วมตอนแรกมีทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย

 มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์

สิงคโปร์
 ไทย
       จนกระทั้ง พ.ศ.2529 เพิ่มประเทศบรูไนเข้ามาเป็น 6 ประเทศ
จากนั้นในปี 2539 ประเทศเวียดนามก็เข้าร่วม รวมเป็น 7 ประเทศ จนมาถึงปี 2541 ซึ่งเป็นปี
ครบรอบ "20 ปีซีไรต์"ผู้จัดได้เชิญพม่าและลาวเข้าร่วมด้วย จึงครบทั้ง 9 ประเทศในกลุ่มอาเซียน
(ขณะนั้น)ต่อมาปี 2542หลังจากประเทศกัมพูชาได้รับการรับรองเข้า เป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ
อาเซียนเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมาจึงได้รับเชิญให้เข้าร่วม ด้วยก็เป็นอันว่าซีไรต์ปีนี้มี
ครบทั้ง 10 ประเทศในภูมิภาคนี้ส่วนคณะกรรมการดำเนินงาน ตั้งแต่ปี 2522 ศาสตราจารย์พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงรับเป็นประธาน ภายหลังพระองค์ท่าน
สิ้นชีพตักษัย ในปี 2524 หม่อนเจ้างามจิตร บุรฉัตรผู้เป็นชายา ได้ ดำรงตำแหน่งประธานสืบแทน
จนถึงอนิจกรรม ในปี 2526 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิมลฉัตร พระกนิษฐาพระองค์เจ้าเปรม
บุรฉัตร ทรงรับเป็นองค์ประธานสืบต่อมาจนถึง พ.ศ. 2534

             พ.ศ. 2535 - 2540 ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล เป็นประธาน จากนั้นในปี 2541 ม.ล.
พีระพงศ์ เกษมศรี เข้ารับช่วงเพียงปีเดียวก็ลาออก และ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เข้ารับตำแหน่งแทนในที่สุดรางวัลวรรณกรรม ซึ่งเป็นผลงานของผู้เขียนได้จัดส่งเข้าร่วม
ประกวดรางวัลซีไรต์ โดยมีคณะกรรมการในการคัดเลือกและตัดสินประกอบด้วยผู้แทนจาก
สมาคมภาษาและหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทยฯ ผู้แทนจากสมาคมนักเขียนฯ และผู้ทรงคุณ
วุฒิทางวรรณกรรม โดยมีกติกาดังนี้ คือ
1. ต้องเป็นงานที่ริเริ่มของผู้เขียนเอง ไม่ใช่แปลมาจากผู้อื่น
2. ต้องเป็นงานที่สัมพันธ์กับชาติหรือภูมิภาคที่ผู้สร้างสรรค์มีภูมิลำเนา 
3. ต้องเป็นเรื่องแต่งหรือเรื่องสร้างสรรค์ในรูปแบบใดก็ได้อันหมายถึง นวนิยาย
บทละคร และกวีนิพนธ์
4. ต้องเป็นงานที่ดีพร้อมในช่วงเวลา 5 ปี นับจากที่ทางการเลือกสรรเป็นเกณฑ์ 
5. ผลงานเคยได้รับรางวัลใด ๆ ก็ได้ที่ใช้ในขอบเขตประเทศตน 
6. ผลงานจะเขียนเป็นภาษาใดก็ได้ที่ใช้ในขอบเขตประเทศตน
7. ผู้สร้างสรรค์มีส่วนช่วยหรือช่วยพัฒนาวัฒธรรมและวรรณกรรมของประเทศตน
จากงานเขียน ของตน 
8. ผู้สร้างสรรค์จะมีเชื้อชาติศาสนา เพศใด ๆ ก็ได้ และยังมีชีวิตอยู่ขณะส่งงานเข้าประกวด


 
อ้างอิงจาก : http://www.ptd.ac.th/
www.praphansarn.com/new/c_lift/detail.asp?ID=137
                                                                    ตะวันออกกลาง

Middle East geographic.jpg
 ได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมต่าง ๆ ของโลกเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา และปัจจุบันนี้ก็ยังคงความเป็นภูมิภาคที่มีความอ่อนไหวมากที่สุดของโลก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรม เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีแหล่งสำรองน้ำมันดิบอยู่ใต้ดินจำนวนมหาศาล และยังเป็นแผ่นดินเกิดและศูนย์กลางทางจิตวิญญานของศาสนาสำคัญหลายศาสนา เช่น ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม เป็นต้น ยิ่งกว่านั้น ภูมิภาคแห่งนี้ยังเป็นพื้นที่ที่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับและอิสราเอลเกิดขึ้นและดำรงอยู่ต่อมายาวนานอีกด้วย
คำจำกัดความ
คำว่า ตะวันออกกลาง เป็นคำจำกัดความภูมิภาคอย่างกว้าง ๆ จึงไม่มีการกำหนดขอบเขตพรมแดนของอาณาบริเวณของภูมิภาคนี้ไว้อย่างเจาะจง แต่โดยทั่วไปแล้วเป็นที่เข้าใจกันว่า ภูมิภาคตะวันออกกลางนั้นจะครอบคลุมพื้นที่ประเทศต่าง ๆ ดังนี้คือ บาห์เรน อียิปต์ อิหร่าน ตุรกี อิรัก อิสราเอล จอร์แดน คูเวต เลบานอน โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน และดินแดนปาเลสไตน์ (เวสต์แบงก์และฉนวนกาซา)
กลุ่มประเทศมาเกร็บ (Maghreb หรือแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งประกอบด้วยแอลจีเรีย ลิเบีย โมร็อกโก และตูนีเซีย) มักถูกเชื่อมโยงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตะวันออกกลางด้วย เนื่องจากมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเชื่อมโยงใกล้ชิดกันมาก ซึ่งก็รวมทั้งซูดาน มอริเตเนีย และโซมาเลียด้วยเช่นกัน
ขณะที่ตุรกีและไซปรัสนั้น แม้ว่าโดยสภาพทางภูมิศาสตร์แล้วจะตั้งอยู่ภายในภูมิภาค แต่ทั้ง 2 ชาติก็มักจัดให้ประเทศตนว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุโรปมากกว่า (แม้ว่ามหาวิทยาลัยเทคนิคตะวันออกกลางจะตั้งอยู่ในกรุงอังการา ประเทศตุรกีก็ตาม) ส่วนทางตะวันออกคือประเทศอัฟกานิสถานนั้น บางครั้งก็ถูกจัดโยงเข้ากับตะวันออกกลางด้วย
ประเทศในตะวันออกกลาง
บาห์เรน เมืองหลวงคือ มานามา
อียิปต์ เมืองหลวงคือ ไคโร
อิหร่าน เมืองหลวงคือ เตหะราน
ตุรกี เมืองหลวงคือ อังการา
อิรัก เมืองหลวงคือ แบกแดด
อิสราเอล เมืองหลวงคือ เยรูซาเล็ม
จอร์แดน เมืองหลวงคือ อัมมาน
คูเวต เมืองหลวงคือ คูเวตซิตี้
เลบานอน เมืองหลวงคือ เบรุต
โอมาน เมืองหลวงคือ มัสกัต
กาตาร์ เมืองหลวงคือ โดฮา
ซาอุดีอาระเบีย เมืองหลวงคือ ริยาด
ซีเรีย เมืองหลวงคือ ดามัสกัส
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมืองหลวงคือ อาบูดาบี
เยเมน เมืองหลวงคือ ซานา
และดินแดนปาเลสไตน์ (เวสต์แบงก์และฉนวนกาซา)

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติ
       ขวัญจิต ศรีประจันต์ มีชื่อจริงว่า เกลียว เสร็จกิจ เกิดเมื่อ 3 สิงหาคม 2490 ที่ ต.วงน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เป็นธิดาของนายอัง และนางปลด เสร็จกิจ มีพี่น้อง 3 คน

เข้าสู่วงการ

ขวัญจิต ศรีประจันต์ สนใจเพลงพื้นบ้านมาตั้งแต่อายุ 15 ปี และแม้เชื้อสายทางพ่อจะมีญาติเป็นพ่อเพลงที่มีชื่อเสียงของสุพรรณบุรี แต่พ่อก็ไม่สนับสนุนให้เป็นแม่เพลงพื้นบ้านด้วยเกรงว่าความเป็นสาวรุ่นจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องชู้สาวตามมา แต่กลับสนับสนุนลูกสาวอีกคนหนึ่งที่อายุยังน้อยให้ไปฝึกหัดเพลงพื้นบ้านกับพ่อเพลงไสว วงษ์งามแทน ความสนใจเพลงพื้นบ้าน ทำให้ขวัญจิตติดตามดูการร้องเพลงอีแซวของแม่เพลงบัวผัน จันทร์ศรี (ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2533) เป็นประจำและต่อมาได้มีโอกาสไปดูแลน้องสาวที่อยู่กับครูไสว จึงได้เรียนรู้การเล่นเพลงอีแซวแบบครูพักลักจำจนท่องเนื้อเพลงได้หลากหลายทั้งลีลาเพลงแนวผู้ชายของครูไสวและเพลงแนวผู้หญิงของครูบัวผัน
ขวัญจิต เป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ และวรรณคดีเก่าๆของไทยอ่านแล้วก็นำเนื้อหานั้นมาแต่งเป็นเพลงอีแซว ร้องเล่นจนเกิดความแตกฉานซึ่งต่อมาได้ขอครูไสว แสดงบ้าง แม้ในระยะแรกๆครูไสวจะยังไม่อนุญาต แต่ในเวลาต่อมาเมื่อได้เห็นความอดทน ความตั้งใจจริง จึงอนุญาตให้แสดงความสามารถ และด้วยพลังเสียงที่กังวานมีไหวพริบ ปฏิภาณ เฉลียวฉลาดในการว่าเพลง ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของนักฟังเพลงอีแซวยิ่งนัก
ขวัญจิต ได้ตระเวนเล่นเพลงอีแซวอยู่กับวงพื้นบ้านอีกหลายวงเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์จากพ่อเพลง แม่เพลงอีกหลายคนและเริ่มแสดงเพลงอีแซวในต่างจังหวัด และในกรุงเทพมหานคร ในงานสังคีตศาลา หรืองานสงกรานต์ที่ท้องสนามหลวงเป็นประจำ ทำให้มีความแตกฉานในเรื่องเพลงอีแซวมากยิ่งขึ้น สามารถเขียนเพลงเอง เพื่อใช้ในการแสดงและโต้ตอบเพลงสดๆ กับพ่อเพลงได้อย่างคมคายเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม หลังจากเล่นเพลงอีแซวจนมีชื่อเสียงแล้วขวัญจิต ได้สมัครเป็นนักร้องลูกทุ่งโดยเริ่มอยู่กับวงดนตรีลูกทุ่งคณจำรัศ สุวคนธ์(น้อย) และวงไวพจน์ เพชรสุพรรณ โดยได้บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรกชื่อเพลง เบื่อสมบัติ งานเพลงของครู จิ๋ว พิจิตร เมื่อ ปี 2510 ทำให้เริ่มมีชื่อเสียงจากเพลงลูกทุ่งจากเพลง “เบื่อสมบัติ” , “ลาน้องไปเวียดนาม”, “ลาโคราช”, “ขวัญใจโชเฟอร์” , “เกลียดคนหน้าทน” , “ขวัญใจคนจน” “แม่ครัวตัวอย่าง “ และ “แหลมตะลุมพุก
จากนั้นได้แต่งเพลงเองได้แก่ “กับข้าวเพชฌฆาต” , “น้ำตาดอกคำใต้” , “สาวสุพรรณ “ ซึ่งเป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้เป็นอย่างมาก ต่อมาจึงได้ตั้งวงดนตรีของตนเอง ชื่อวงขวัญจิต ศรีประจันต์ เป็นวงดนตรีที่นำระบบแสง สี เสียง ที่น่าตื่นตาตื่นใจมาใช้ประกอบการแสดงนำเพลงอีแซวมาผสมผสานกับการแสดงเผยแพร่สู่ผู้ฟังทั่วประเทศจนเป็นที่รู้จักกันอย่างเป็นอย่างดี
พ.ศ. 2516 ขวัญจิต ยุติวงดนตรีลูกทุ่งแล้วกลับไปฟื้นฟูเพลงอีแซวที่ จ.สุพรรณบุรี อุทิศชีวิตในการอนุรักษ์ฟื้นฟู เผยแพร่และถ่ายทอดเพลงอีแซวให้กับลูกศิษย์และผู้สนใจมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน ได้ใช้ความรู้ความสามารถช่วยเหลือสถาบันการศึกษาและหน่วยงานราชการในการเป็นวิทยากรสาธิต รับแขกบ้านแขกเมืองด้วยการแสดงพื้นบ้านติดต่อกันมาอย่างยาวนาน

 ผลงานเพลงดัง

  • กับข้าวเพชฌฆาต
  • เบื่อสมบัติ
  • แม่ครัวตัวอย่าง
  • ก็นั่นนะซิ
  • พ่อเพาเว่อร์
  • เศรษฐีเมืองสุพรรณ
  • ผัวบ้าๆ
  • น้ำตาดอกคำใต้
  • สาวสุพรรณ
  • สุดแค้นแสนรัก
  • อ้อมอกเจ้าพระยา
  • แหลมตะลุมพุก
  • ทำบุญวันเกิด
  • ลาน้องไปเวียดนาม
  • ลาโคราช
  • ขวัญใจโชเฟอร์
  • เกลียดคนหน้าทน
  • ขวัญใจคนจน
  • หม้ายขันหมาก (ต้นฉบับ)
  • ผัวหาย
  • ฯลฯ เป็นต้น

 ผลงานภาพยนตร์

 ชีวิตครอบครัว

สมรสกับนายเสวี ธราพร มีบุตร 3 คน เป็น ชาย 1 คน และหญิง 2 คน

 เกียรติยศ


           หวังเต๊ะ
            มีชื่อจริงคือ หวังดี นิมา เกิดเดือนมีนาคม พ.ศ. 2468 ที่จังหวัดปทุมธานี เป็นชาวมุสลิม เป็นศิลปินเพลงพื้นบ้านที่มีความเชี่ยวชาญเพลงลำตัดเป็นพิเศษ ได้ตั้งคณะลำตัดชื่อ “คณะหวังเต๊ะ” รับงานแสดงมานานกว่า 40 ปี จนชื่อ หวังเต๊ะ กลายเป็นสัญลักษณ์ของลำตัด เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์และสืบทอดการแสดงพื้นบ้านได้อย่างน่าภาคภูมิใจยิ่ง ท่านมีความสามารถมีปฏิภาณไหวพริบ มีคารมคมคาย สามารถด้นกลอนสดและแต่งคำร้องได้อย่างยอดเยี่ยมโดยจะเน้นในด้านสุนทรียภาพ ความไพเราะงดงามทางภาษา ท่านใช้ความสามารถและศิลปะการแสดงประกอบสัมมาชีพอย่างซื่อสัตย์มาโดยตลอด ท่านมีความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ ถ่ายทอด เผยแพร่ศิลปะการแสดงลำตัดแก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อเป็นการสืบสานมรดกไทยไว้เป็นเอกลักษณ์ของชาติสืบไป หวังเต๊ะได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจำปี 2531
ในบั้นปลายชีวิต ได้ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จนกระทั่งถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ก็ถึงแก่กรรม สิริอายุได้ 87 ปี


ประวัติ
                ศรคีรี เล่าถึงประวัติของตัวเองเอาไว้เมื่อ พ.ศ. 2515 ว่า "บ้านเกิดผมเลขที่ 13 บ้านหนองอ้อ ต. บางกระบือ อ.บางคณที (จ.สมุทรสงคราม ) พ่อผมชื่อมั่ง แม่ชื่อเชื้อ ผมมีพี่น้อง 6 คน ผมเป็นคนสุดท้อง ชื่อจริงผม ชื่อ ศรชัย (น้อย) ทองประสงค์ เกิดวันที่ 4 มีนาคม 2487 ผมเรียนจบ ป.4 ที่โรงเรียนพรหมสวัสดิ์สาธร จบมาก็ช่วยแม่ปาดตาล (มะพร้าว) ปีนต้นตาลทุกวัน มันเหนื่อยก็เลยหยุดพักบนยอดตาล เพื่อ ไม่ให้เสียเวลาผมก็ร้องเพลงบนยอดตาลจนหายเหนื่อยแล้วค่อยทำงานต่อ เพลงที่ชอบร้องก็มี "เสือสำนึกบาป" , "ชายสามโบสถ์" เพราะตอนนั้นเพลงของคำรณ สัมบุณนานนท์ ฮิตเป็นบ้าเลย ตอนนั้นอยาก เป็นนักร้องใจแทบขาด เวลาวงดนตรีของ พยงค์ มุกดา มาแสดงใกล้บ้าน ผมจะไปสมัครร้องให้คุณพยงค์ฟัง แกบอกว่าให้ไปหัดร้องมาใหม่ พยายามอยู่ 2 ครั้งครูพยงค์บอกว่ายังไม่ดี ผมเลย เลิกไปเอง จากนั้นพออายุ 20 ปี บวชได้พรรษาหนึ่งก็สึก พ่อแม่ผมไปซื้อไร่ที่ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ โน่น ตอนนั้นเขากำลังทำไร่สับปะรดกัน"
แต่ประวัติอีกกระแสบอกว่า เพราะรักครั้งแรกเป็นพิษขณะที่บวช เมื่อว่าที่พ่อตาให้ลูกสาวแต่งงานกับชายอื่น เขาจึงเตลิดหนีออกจากบ้านมาอยู่กับพี่ชายที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยพี่ชายแบ่งไร่สับปะรดให้ทำ
ที่นี่ ศรคีรีเริ่มร้องเพลงอีกครั้ง โดยเข้าประกวดร้องเพลงตามงานวัด และคว้ารางวัลมากมาย จนเพื่อนชื่อ พยงค์ วงศ์สัมพันธ์ มาชวนให้ร่วมวงที่เช่าเครื่องดนตรี และจ้างครูดนตรีจากที่ค่าย "ธนะรัชต์" มาสอน เพื่อความสนุกในหมู่บ้าน ต่อมาเมื่อคนรู้จักมากขึ้น จึงตั้งวง "รวมดาววัยรุ่น" ที่ต่อ มาเปลี่ยนชื่อเป็น "รวมดาวเมืองปราณ" รับงานแสดงทั่วไปตามบ้านที่ขายสับปะรดได้โดยไม่คิดเงินทอง ตอนนั้นศรคีรีร้องเพลงแบบรำวง และใช้ชื่อ "พนมน้อย" เพราะร้องเพลงของ พนม นพพร และศักดิ์ชาย วันชัย ต่อมาได้นำวงมาแสดงในงานปีใหม่ของจังหวัด "ประหยัด สมานมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ฟังเสียง และเห็นหน้าก็รักใคร่ชอบพอ จึงเปลี่ยนชื่อให้เป็น ศรคีรี ศรีประจวบ
หลังจากนั้น วิจิตร ฤกษ์ศิลป์วิทยา คนอยู่ใกล้บ้านกันให้การสนับสนุนเพื่อวงดนตรีแข็งแรงขึ้นและพากันเข้ากรุงเทพฯ เช่าเวลารายการวิทยุยานเกราะจาก จำรัส วิภาตะวัธ วิ่งล่องกรุงเทพฯ ประจวบฯอยู่บ่อยๆ ก็ได้พบกับ เพลิน พนาวัลย์ ที่พาเขาไปพบ ครูไพบูลย์ บุตรขัน ที่บ้าน ตามคำขอร้องของศรคีรี
โด่งดัง
"ภูพาน เพชรปฐมพร" นักร้องที่ใกล้ชิดกับศรคีรีในวง “ รวมดาววัยรุ่น “ เล่าว่า ตอนไปขอเพลง ตอนนั้นครูมีนักร้องที่ดังมากคือ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ เป็นลูกศิษย์อยู่ ศรคีรีก็ร้องเพลงแนวเดียว กัน ครูไพบูลย์ก็ไม่ให้ จึงต้องเทียวไปเทียวมาอยู่หลายครั้ง จนครูใจอ่อน เพลงแรกที่ได้มาคือ น้ำท่วม ตอนที่บันทึกเพลง น้ำท่วม จ. ประจวบคีรีขันธ์ เสียหายอย่างมาก สับปะรดถูกน้ำท่วมทั้ง หมด นอกจากนั้น ครูก็ยังให้เพลงมาอีก 3 เพลง คือ "บุพเพสันนิวาส" , "แม่ค้าตาคม" , "วาสนาพี่น้อย" สำหรับการบันทึกเสียงครั้งแรกนั้น ชุดแรกมีทั้งหมด 6 เพลง คือ น้ำท่วม, บุพเพสันนิวาส, วาสนาพี่น้อย, แม่ค้าตาคม, พอหรือยัง และบางช้าง งานนี้ ศรคีรี เปลี่ยนสภาพจากนักร้องเพลง รำวง มาเป็น นักร้องเพลงหวานโดยสมบูรณ์
หลังจากเพลงเริ่มเป็นที่รู้จัก ศรคีรีลงมาอยู่กรุงเทพฯ แต่ยังไม่นำวงดนตรีมาด้วย โดยจะนำมาก็แต่เมื่อมีงาน ครั้งแรกในกรุงเทพฯ เขาเปิดการแสดงงานศพน้องชายครูไพบูลย์ที่วัดหลักสี่ บางเขน จากนั้นวงก็เริ่มรับงานในกรุงเทพฯ และเดินสายทั่วประเทศ และในการออกเดินสายใต้เป็นครั้ง แรก วงประสบความสำเร็จอย่างงดงาม จัดว่าเป็นวงที่มีค่าตัวแพงวงหนึ่ง ช่วงนั้นศรคีรีได้มีโอกาสแสดงหนังของ ครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ เรื่อง "มนต์รักจากใจ" ด้วย
ต่อมาศรคีรีมีชื่อเข้าไปพัวพันคดีสังหารคนในวงการด้วยกัน ชื่อเสียงจึงตกลงไปบ้าง แต่ในที่สุดก็พิสูจน์ตัวเองได้ และกลับมาอีกครั้งในเพลง "ตะวันรอนที่หนองหาร" "อยากรู้ใจเธอ" รักแล้งเดือนห้า" "ลานรักลั่นทม" และ "คิดถึงพี่ไหม" ซึ่งเพลงหลังนี้ ขณะบันทึกเสียงศรคีรีร้องโดยปิดไฟมืด ซึ่งเขาไม่เคยทำมาก่อน เพลงนี้แต่งโดย พยงค์ มุกดา โดย ทิว สุโขทัย เคยร้องไว้เป็นคนแรกและเสียชีวิตไปก่อนหน้า และเพลงนี้เป็นเพลงสุดท้ายที่ศรคีรีได้บันทึกเสียงไว้
 ลาลับ
ก่อนเสียชีวิต ศรคีรีเคยไปทำการแสดงที่โรงหนังเอกมัยราม่า มีคนนำเอาพวงมาลัยดอกไม้สด แต่คาดด้วยผ้าดำแบบที่ทำไว้สำหรับคนตายมอบให้บนเวทีขณะร้องเพลง ศรคีรีรับไว้ด้วยความเกรงใจ เมื่อกลับเข้าหลังเวที ศรคีรีสั่งเลิกการแสดงคืนนั้นทันทีทั้งที่ร้องเพลงได้เพียง 5 เพลง
ด้วยวัยแค่ 28 ปี ศรคีรี ศรีประจวบ จากโลกนี้ไปเมื่อ 30 มกราคม 2515 ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในเวลาไม่แน่นอน ประมาณ 03.00 - 05.00 น.บริเวณริมถนนพหลโยธิน ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ขณะเดินทางกลับจากการแสดงที่วัดหน้าพระธาตุ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์เข้ากรุงเทพฯ เพื่อเปิดทำการแสดงที่วัดภาษี เอกมัย ในตอนค่ำ คาดว่าคนขับรถของศรคีรีเกิดง่วงนอน จึงจอดรถเก๋งโตโยต้าคราวน์ข้างทางเพื่อพักสักงีบ แต่ปรากฏว่ารถบรรทุกไม้ วิ่งมาด้วยความเร็วสูงประกอบกับบริเวณนั้นเป็นสะพานสูง เมื่อรถบรรทุกไม้วิ่งมาด้วยความเร็ว เมื่อถึงสะพานก็ทำให้รถกระโดดเสียหลัก ขึ้นไปทับรถของศรคีรี ทำให้เขาเสียชีวิตคาที่
หลังแสดงวันนั้น ลูกวงได้ออกเดินทางมายังจุดนัดพบที่ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่งก่อน แต่หลังจากที่ลูกวงรออยู่นาน หัวหน้าวงยังเดินทางมาไม่ถึง จึงออกเดินทางต่อ แต่วิ่งไปสักระยะหนึ่ง ก็มีรถพลเมืองดีวิ่งไล่ตามและเรียกให้จอด เพื่อแจ้งข่าวเรื่องการประสบอุบัติเหตุของรถของศรคีรี หลังพบใบปลิวการแสดงปลิวออกจากรถศรคีรีเกลื่อนกลาด หลังรถบัสวิ่งกลับไปก็พบศพดังกล่าว ข้อมูลบางแหล่งบอกว่า ศรคีรี เสียชีวิตประ มาณ 8.00 น.ซึ่งเวลาดังกล่าวน่าจะเป็นเวลาพบศพมากกว่า
ก่อนเสียชีวิต ศรคีรี สมรสแล้ว และมีบุตรธิดารวม 3 คน เป็นชาย 2 หญิง 1 ชื่อ สมศักดิ์ ,ชนัญญา และสันติ
ครูไพบูลย์ บุตรขัน เคยเขียนไว้อาลัยการจากไปของศรคีรีว่า "แด่สุดรัก เธอเกิดมาเป็นผู้กล่อมโลก ฉันเป็นผู้ถ่ายทอดอารมณ์ บัดนี้เธอจากโลกไปแล้วเหลือเพียงเสียงเพลง ศรคีรี ศรีประจวบ ฉันเสียดาย เสียดายจริงๆ เพราะเธอควรจะอยู่กล่อมโลกให้นานกว่านี้ "
 ผลงานเพลงดัง
ศรคีรี ศรีประจวบ บันทึกผลงานเพลงเอาไว้บางส่วน ดังนี้
01. ฝนตกฟ้าร้อง (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 02. วาสนาพี่น้อย (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 03. ขี่เหร่ก็รัก (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 04. บุพเพสันนิวาส (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 05. แม่ค้าตาคม (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 06. น้ำท่วม (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 07. แล้งน้ำใจ (พยงค์ มุกดา) 08. ดอกรักบานแล้ว (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 09. หนุ่มนาบ้ารัก (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 10. ทุ่งรัก (ครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา) 11. พอหรือยัง (ชลธี ธารทอง) 12. บางช้าง (ศรคีรี ศรีประจวบ) เพลงแก้คือ สาวบางช้าง - ขวัญดาว จรัสแสง 13. หวานเป็นลมขมเป็นยา (สำเนียง ม่วงทอง) 14. เฝ้าดอกฟ้า (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 15. หนาวลมเรณู (สุรินทร์ ภาคศิริ) (สนธิ สมมาตร์ เคยนำมาร้อง) 16. ตะวันรอนที่หนองหาร (พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา) 17. เสียงขลุ่ยบ้านนา (เกษม สุวรรณเมนะ) (สายัณห์ สัญญา เคยนำมาร้อง แต่เปลี่ยนชื่อเพลงเป็น เสียงขลุ่ยเรียกนาง) เพลงแก้คือ มนต์ขลังเสียงขลุ่ย - วันเพ็ญ เดือนเต็มดวง 18. มนต์รักแม่กลอง (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 19. หนุ่มกระเป๋า (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 20. รักแล้งเดือนห้า (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 21. ลานรักลั่นทม (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 22. รักจากใจ (สำเนียง ม่วงทอง) 23. ไปให้พ้น (สมนึก ปราโมทย์) 24. คนมีเวร (สงเคราะห์ สมัตภาพงษ์) 25. อยากรู้ใจเธอ (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 26. เข็ดแล้ว (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 27. พระอินทร์เจ้าขา (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) เพลงแก้คือ เทวดาเจ้าคะ - เตือนใจ บุญพระรักษา 28. คิดถึงพี่ไหม (พยงค์ มุกดา) เพลงแก้คือ น้องคิดถึงพี่ - ขวัญดาว จรัสแสง 29. ทุ่งสานสะเทือน (พยงค์ มุกดา) 30. เสียงซุงเว้าสาว (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 31. รักเธอหมดใจ (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 32. กล่อมนางนอน (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 33. แม่กระท้อนห่อ (พยงค์ มุกดา) 34. หนุ่มนา (พยงค์ มุกดา)
 ผลงานการแสดง
  • มนต์รักจากใจ
 เกียรติยศ
  • ปี 2547 ผลงานเพลง"เสียงขลุ่ยเรียกนาง"ของศรคีรี ศรีประจวบ จากการประพันธ์โดย เกษม สุวรรณเมนะ และขับร้องใหม่โดย ไท ธนาวุฒิ ได้รับรางวัล"มาลัยทอง"ประเภทเพลงเก่าทำใหม่ยอดเยี่ยม
  
   Au petit déjuner je mange du pain avec du beurre.Je bois aussi du lait.
   Au déjuner jemange du poulet et un fruit.Je bois aussi un jus d'orange.
   Au goûter,je mange des un gâteau et la limonade.Je ne dîne pas beaucoup parce que je mange trop pour le goûter!